เมนู

เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ดูก่อนคฤหบดี อย่างนี้แลบุคคลแม้มีกาย
กระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่.
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว นกุลปิตุคฤหบดีชื่นชมยินดี
ภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล.
จบ นกุลปิตุสูตรที่ 1

สารัตถปกาสินี


อรรถกถาสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



อรรถกถานกุปิตุสูตรที่ 1



นกุลปิตุวรรคสูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ภคฺเคสุ ได้แก่ ในชนบทมีชื่ออย่างนี้.
บทว่า สุํสุมารคิเร ได้แก่ ในนครชื่อสุงสุมารคิระ เล่ากันมาว่า
เมื่อสร้างนครนั้น จระเข้ร้อง ฉะนั้นคนทั้งหลายจึงตั้งชื่อนครนั้นว่า
สุงสุมารคิระ. บทว่า เภสกฬาวเน ความว่า ในป่าที่ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะ
ยักษิณีชื่อเภสกฬาสิงอยู่ ป่านั้นแหละ เรียกว่า มิคทายะ เพราะเป็นที่
ให้อภัยแก่หมู่เนื้อ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยนครนั้นในชนบทนั้น
ประทับอยู่ในไพรสณฑ์นั้น. บทว่า นกุลปิตา ได้แก่ เป็นบิดาของทารก
ชื่อนี้กุละ.

บทว่า ชิณฺโณ ได้แก่ เป็นผู้คร่ำคร่าเพราะชรา. บทว่า วุฑฺโฒ
ได้แก่ เป็นผู้เจริญวัย. บทว่า มหลฺลโก ได้แก่ เป็นคนแก่นับแต่เกิด. บทว่า
อทฺธคโต ได้แก่ ล่วงกาล 3. บทว่า วโยอนุปฺปตฺโต ได้แก่ล่วงกาล 3 นั้นๆ
ถึงปัจฉิมวัยตามลำดับ. บทว่า อาตุรกาโย ได้แก่ มีกายเจ็บไข้. ความจริง
สรีระนี้แม้มีวรรณะดังทอง ก็ชื่อว่ากระสับกระส่ายอยู่นั่นเอง เพราะ
อรรถว่าไหลออกเป็นนิจ แต่ว่าโดยพิเศษ สรีระนั้นย่อมมีความกระสับ
กระส่าย 3 อย่าง คือ กระสับกระส่ายเพราะชรา 1 กระสับกระส่าย
เพราะพยาธิ 1 กระสับกระส่ายเพราะมรณะ 1 ใน 3 อย่างนั้น เพราะ
ความเป็นคนแก่ จึงชื่อว่ากระสับกระส่ายเพราะชรานั้นก็จริง ถึง
อย่างนั้น ในที่นี้ท่านก็ประสงค์เอาความที่สรีระนั้น กระสับกระส่าย
เพราะพยาธิ เพราะเป็นโรคอยู่เนืองๆ. บทว่า อภิกฺขณาตงฺโก ได้แก่
เป็นโรคเนืองๆ คือเป็นโรคอยู่เรื่อย. บทว่า อนิจฺจทสฺสาวี ความว่า
ข้าพระองค์ไม่อาจมาในขณะที่ปรารถนาๆ ได้เฝ้าบางคราวเท่านั้น
มิได้เฝ้าตลอดกาล. บทว่า มโนภาวนียานํ ได้แก่ ผู้ให้เจริญใจ ก็เมื่อ
ข้าพระองค์เห็นภิกษุเหล่าใด จิตย่อมเจริญด้วยอำนาจกุศล ภิกษุเหล่านั้น
ได้แก่พระมหาเถระมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้น ชื่อว่า
เป็นผู้ให้เจริญใจ. บทว่า อนุสาสตุ ได้แก่ขอโปรดสั่งสอนบ่อย ๆ. จริงอยู่
สอนครั้งแรกชื่อว่าโอวาท สอนครั้งต่อ ๆ ไปชื่อว่าอนุสาสนี. อีกอย่างหนึ่ง
สอนในเรื่องที่มีแล้วชื่อว่าโอวาท สอนตามแบบแผนคือตามประเพณี
นั่นแหละในเรื่องที่ยังไม่มีชื่อว่าอนุสาสนี. อีกอย่างหนึ่ง คำว่าโอวาทก็ดี
คำว่า อนุสาสนี ก็ดี โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกันทีเดียว ต่างกันเพียง
พยัญชนะเท่านั้นเอง.
บทว่า อาตุโร หายั ตัดเป็น อาตุโร หิ อยํ. ความว่า กายนี้มีสี

เหมือนทอง แม้เสมอด้วยไม้ประยงค์ ก็ชื่อว่ากระสับกระส่าย เพราะ
อรรถว่าไหลออกเป็นนิจ. บทว่า อณฺฑภูโต ความว่า เป็นเหมือนฟองไข่
ใช้การไม่ได้ ฟองไข่ไก่ก็ตาม ฟองไข่นกยูงก็ตาม ที่คนเอามาทำเป็น
ลูกข่าง จับโยนหรือขว้างไป ไม่อาจจะเล่นได้ ย่อมแตกในขณะนั้น
นั่นเอง ฉันใด กายแม้นี้ก็ฉันนั้น เมื่อคนเหยียบชายผ้าก็ดี สะดุดตอก็ดี
ล้มลง ย่อมแตกเป็นเหมือนฟองไข่ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อณฺฑภูโต.
บทว่า ปริโยนทฺโธ ได้แก่ เพียงผิวหนังที่ละเอียดหุ้มไว้ เพราะฟองไข่มี
เปลือกแข็งหุ้มไว้ฉะนั้นแม้เหลือบยุงเป็นต้นแอบเข้าไปเจาะผิวที่ฟองไข่นั้น
ก็ไม่อาจให้น้ำเยื่อไข่ไหลออกมาได้ แต่ที่กายนี้ เจาะผิวหนังทำได้ตาม
ปรารถนา กายนี้ผิวหนังที่ละเอียดหุ้มไว้อย่างนี้. บทว่า กิมญฺญตฺร พาลฺยา
ความว่า อย่างอื่นนอกจากความอ่อนแอ จะมีอะไรเล่า กายนี้อ่อนแอ
จริงๆ. บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะกายนี้เป็นอย่างนี้
บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า คฤหบดีชื่อนี้กุลบิดา เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสัทธรรมจักรพรรดิ ต่อมาประสงค์จะทำ
ความเคารพพระธรรมเสนาบดี จึงเข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่
เหมือนราชบุรุษเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วต่อมาจึงเข้าไปหา
ท่านปรินายกรัตน์ (อัครมหาเสนาบดี). บทว่า วิปฺปสนฺนามิ ได้แก่ ผ่องใส
ด้วยดี. บทว่า อินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์มีใจเป็นที่ 6. บทว่า ปริสุทฺโธ
ได้แก่ ปราศจากโทษ. คำว่า ปริโยทาโต เป็นไวพจน์ของคำว่า ปริสุทฺโธ
นั่นเอง. จริงอยู่ ท่านพระสารีบุตรนี้ ท่านเรียกว่า ปริโยทาโต เพราะท่าน
ปราศจากอุปกิเลสนั่นเอง มิใช่เพราะเป็นคนขาว. คฤหบดีพอเห็นความ
ผ่องแผ้วของพระสารีบุตรเท่านั้น ก็รู้ว่าท่านมีอินทรีย์ผ่องใส. ได้ยินว่า
นี้เป็นปัญญาคาดคะเนของพระเถระ.

บทว่า กหญฺหิ โน สิยา ความว่า เพราะเหตุไรท่านจักไม่ได้ปัญญา
นั้นเล่า อธิบายว่า ได้แล้วทีเดียว. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงอะไรแสดงว่าเป็น
ผู้คุ้นเคยกับพระศาสดา.
ได้ยินว่า คฤหบดีนี้จำเดิมแต่ได้เห็นพระศาสดา ก็ได้ความรัก
ดุจว่าตนเป็นบิดา ฝ่ายอุบาสิกาของท่านก็ได้ความรักดุจตนเป็นมารดา.
ท่านทั้งสองเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดาว่า บุตรของเรา. จริงอยู่
ความรักของท่านทั้งสองนั้นมีมาแล้วในภพอื่นๆ. ได้ยินว่าอุบาสิกานั้น
ได้เป็นมารดา ส่วนคฤหบดีนั้นได้เป็นบิดาของพระตถาคต 500 ชาติ.
อุบาสิกาเป็นยายและเป็นป้า-น้า อุบาสกเป็นปู่ และเป็นอา ตลอด
500 ชาติอีก. รวมความว่า พระศาสดาทรงเจริญเติบโตในมือของ
ท่านทั้งสองนั้นเองสิ้น 1,500 อัตภาพ. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านทั้งสองนั้น
จึงนั่งพูดในสำนักของพระศาสดาใช้คำที่ใคร ๆ ไม่สามารถจะพูดใน
ที่ไกล้บุตรและธิดาได้. ก็ด้วยเหตุนี้นี่แล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง
ตั้งท่านทั้งสองนั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาอุบาสกสาวกที่สนิทสนมของเรา นกุลปิตา คฤหบดี
จัดเป็นเลิศ บรรดาอุบาสิกา สาวิกา ที่สนิมสนมของเรา นกุลมาตา
คหปตานี เป็นเลิศ
ดังนั้นพระองค์เมื่อจะทรงประกาศความเป็นผู้สนิทสนมนี้
จึงตรัสคำมีอาทิว่า กหญฺหิ โน สิยา ดังนี้.
บทว่า อมเตน อภิสิตฺโต ความว่า ฌานก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคก็ดี
ผลก็ดี อะไรอื่นในที่นี้ไม่พึงเห็นว่า อมตาภิเสก (คือการโสรจสรงด้วย
น้ำอมฤต) แต่พระธรรมเทศนาที่ไพเราะเท่านั้น พึงทราบว่า อมตาภิเสก.
บทว่า ทูรโตปิ ได้แก่ จากภายนอกแว่นแคว้นบ้าง ภายนอกชนบทบ้าง.

คำว่า อสุตวา ปุถุชฺชโน นี้มีอรรถดังกล่าวมาแล้วนั่นแล พึงทราบ
วินิจฉัยในคำว่า อริยานํ อทสฺสาวี เป็นต้นดังต่อไปนี้ พระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายกล่าวว่า อริยะเพราะไกล
จากกิเลส เพราะไม่ดำเนินไปในความเสื่อม เพราะดำเนินไปในความ
เจริญ เพราะโลกพร้อมด้วยเทวโลกพึงดำเนินตาม อนึ่ง พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายนั้นแล เป็นพระอริยะในโลกนี้ อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พระตถาคตท่านเรียกว่าอริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ ดังนี้ ก็พึง
ทราบวินิจฉัยในคำว่า สปฺปุริสานํ ดังต่อไปนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าและ
พระสาวกของตถาคต พึงทราบว่าสัตบุรุษ จริงอยู่ท่านเหล่านั้น
ท่านกล่าวว่าสัตบุรุษ เพราะเป็นคนงาม เพราะประกอบด้วยคุณอันเป็น
โลกุตตระ อนึ่ง ท่านทั้งหมดนั้น ท่านกล่าวไว้ว่าเป็นทั้ง 2 อย่าง จริงอยู่
แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นพระอริยะด้วยเป็นสัปบุรุษด้วย แม้
พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เรียกอย่างนั้นเหมือนกัน
เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
บุคคลใดแล เป็นผู้กตัญญูกตเวที เป็น
นักปราชญ์ เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้มีความ
ภักดีอันมั่นคง กระทำกิจของผู้ได้รับทุกข์โดย
เคารพ บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลผู้เช่นนั้นว่า
เป็นสัปปุรุษ.

บทว่า กลฺยาณมิตฺโต ทฬฺหภตฺติ จ โหติ ความว่า ก็พุทธสาวก
ท่านกล่าวไว้ด้วยบทเพียงเท่านี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายท่านกล่าว
ด้วยคุณมีกตัญญุตา เป็นต้น.

ผู้ใดมีปกติไม่เห็นพระอริยะเจ้าเหล่านั้นในบัดนี้ และไม่ทำความดี
ในการเห็น ผู้นั้นพึงทราบว่าเป็นผู้ไม่เห็นพระอริยะเจ้า และผู้ไม่เห็น
พระอริยะเจ้านั้นมี 2 จำพวก คือผู้ไม่เห็นด้วยจักษุพวกหนึ่ง ผู้ไม่เห็น
ด้วยญาณพวกหนึ่ง ใน 2 พวกนั้น ผู้ไม่เห็นด้วยญาณท่านประสงค์เอา
ในที่นี้. แม้ผู้ที่เห็นพระอริยะเจ้าด้วยมังสจักษุ หรือด้วยทิพยจักษุ ก็ชื่อว่า
เป็นอันไม่เห็นอยู่นั่นเอง เพราะถือเอาเพียงสี (รูป) แห่งจักษุเหล่านั้น
ไม่ใช่ถือเอาโดยเป็นอารมณ์แห่งอริยปัญญา แม้สัตว์เดียรัจฉาน มี
สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น ย่อมเห็นพระอริยเจ้าด้วยจักษุ และ
สัตว์เหล่านั้นจะชื่อว่าไม่เห็นพระอริยเจ้าก็หามิได้

ในข้อนั้นมีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์


เล่ากันมาว่า อุปัฏฐากของพระเถระผู้ขีณาสพ ผู้อยู่ ณ จิตรลดา-
บรรพต เป็นผู้บวชเมื่อแก่ วันหนึ่งท่านเที่ยวบิณฑบาตกับพระเถระ
ถือบาตรและจีวรของพระเถระเดินไปข้างหลังถามพระเถระว่า
ท่านขอรับ ขึ้นชื่อว่าพระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นไร. พระเถระ
ตอบว่า บุคคลบางตนในโลกนี้เป็นคนแก่ ถือบาตรและจีวรของ
พระอริยะทั้งหลาย ทำวัตรปฏิบัติ แม้เที่ยวไปด้วยกัน ก็ไม่รู้จักพระอริยะ
ผู้มีอายุ พระอริยะทั้งหลายรู้ได้ยากอย่างนี้. แม้เมื่อท่านกล่าวอย่างนั้น
ท่านก็ยังไม่รู้อยู่นั้นเอง เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุและการเห็น
ด้วยญาณ (ปัญญา) ก็ชื่อว่าเห็น เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ดูก่อน วักกลิ ประโยชน์อะไรด้วยกายเน่าที่ท่านเห็นอยู่นี้.
ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา. ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม.
เพราะฉะนั้น แม้ผู้ที่เห็นด้วยจักษุไม่เห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นที่